• Share |
  • อัญมนีแห่งพงไพร



    นี่ คือเรื่องราวของการค้นพบ การจำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน และการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟาแลนด์เขากวางอ่อน ต้นแบบที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสายพันธุ์นี้ ซึ่งได้ถูกค้นพบจากที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และทางผู้เขียนก็ไม่ได้พบอีกเลย นับจากนั้นเป็น เวลากว่า ๒๕ ปี
         ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ -๒๕๒๓ พ่อค้าแม่ค้ากล้วยไม้ป่าจำนวนเป็นโหลๆ ได้นำกล้วยไม้มาวางขายที่สนามหลวง บนฟุตบาทใต้ร่มเงาของกิ่งก้านต้นมะขามที่แผ่ร่มครึ้ม แถวลานด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง
    ผู้ขายส่วนใหญ่เหล่านั้น ไม่ได้มาจากสวนกล้วยไม้ที่ใดที่หนึ่ง แต่พวกเขามาจาก ทุกสารทิศทั่วประเทศไทยทั้งโดยทางรถไฟ หรือรถโดยสารประจำทาง พร้อมกับกระสอบ หรือตะกร้าใส่กล้วยไม้ เพื่อนำมาขายยังตลาดนัดแห่งนี้
    กล้วยไม้ที่นำมามีทั้งได้จากคนเก็บกล้วยไม้ป่าโดยตรง หรือเก็บจากต้นไม้ที่ถูกตัดโค่นเพื่อทำไม้ เพื่อการตัดถนน หรือจากต้นไม้ที่ถูกโค่นถางป่าเพื่อพื้นที่เพาะปลูก
          ผู้ขาย จะเริ่มขายตั้งแต่เช้ามืดของเช้าวันเสาร์ และไม่นานหลังจากนั้น บรรดานักเลงกล้วยไม้ผู้ที่หลงใหลกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ จะมาแย่งกันหาซื้อ และจับจองกล้วยไม้ป่าที่หายากหรือสวยเด่นก่อนที่ลูกค้าคนอื่นจะมาเห็นเข้า และเนื่องด้วยเป็นการค้าในกลุ่มเล็กๆ ที่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นศูนย์รวมชั้นยอดของกล้วยไม้ป่าที่หายาก ใจกลางกรุงเทพมหานคร เพื่อนที่ดีของผมท่านหนึ่ง คุณประวิทย์ ฉัตรลดา หนึ่งในผู้หลงใหลกล้วยไม้ ที่กระตือรือร้น เพื่อไปสนามหลวงทุกอาทิตย์ ในการเดินทางมาประเทศไทยในช่วงแรกๆ ครั้งหนึ่งของผม ประมาณปี พ .ศ. ๒๕๑๘ คุณประวิทย์ ได้เชื้อเชิญผมไปตลาดนัดกล้วยไม้ที่สนามหลวง เขาได้บอกผมถึงเรื่องที่ควรจะไปถึงที่นั่นก่อน ๗ โมงเช้า บางทีคุณประวิทย์อาจรู้ได้ว่าผมคงไม่กระตือรือร้นที่จะไปเช้าขนาดนั้น เขาจึงได้เล่าถึงข้อตกลงกับ ผู้ค้ารายหนึ่งที่จะคัดเก็บกล้วยไม้แปลก ๆ หรือมีลักษณะเด่นที่หายากไว้ให้เขา ซึ่งเขายินดีให้ราคาถึง ๓ เท่าของราคาปกติสำหรับกล้วยไม้เหล่านั้นซึ่งเก็บไว้ขายให้เขาเป็นคนแรก

    และด้วยที่คุณประวิทย์ได้ชวนผมไปในครั้งนั้น เขาเสนอที่จะให้กล้วยไม้ที่ผมชอบหรือ น่าสนใจจากผู้ขายคนนั้น แต่ผมก็ไม่ได้ตั้งความหวังไว้สูงว่าจะพบอะไรเป็นพิเศษ จากการมาประเทศไทยเพียงปีละครั้ง
          เมื่อเราไปถึง แม่ค้ารายหนึ่งเป็นหญิงร่างเล็กแต่งตัวด้วยเสื้อผ้า เก่าดูมอซอ ก็โบกไม้โบกมือเป็นสัญญาณ ให้คุณประวิทย์ ในทันทีที่พวกเรามาถึง เมื่อเราไปถึงแล้ว เธอค่อยๆเปิดถุงกระดาษ สีน้ำตาล อย่างระมัดระวัง และยื่นฟาแลนด์ เขากวางอ่อนต้นหนึ่งที่กำลังติดดอกให้เราดู ซึ่งทั้งกลีบนอกและกลีบในมีสีแดงก่ำเป็นมัน ทั้งดอก ทั่วทั้งพื้นผิวดานหน้าและด้านหลังดอก ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีจุดแต้ม หรือลายบั้ง ใดๆบนสีพื้น
    ภาพ: :ซ้าย ดร.เดวิด แอล โกฟ, ขวา คุณประวิทย์ ฉัตรดา

    รูปทรงของดอก ก็บานผึ่งตึงเรียบทั้งดอกเหมือนฟอร์มของเขากวางอ่อนทั่วไป ก้านเส้าเกสรเป็นสีเหลือง บริเวณกลีบปากและแผ่นข้างกลีบปาก เป็นสี ขาว ... ทันใด ผมก็พูดโพล่งกับคุณประวิทย์ถึงข้อเสนอของเขา และผมก็อยากจะใช้มันแล้วในตอนนี้ เรื่องจึงจบลงที่ราคา๗๐๐ บาท หรือราวๆ๓๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นราคาค่อนข้างสูงสำรับกล้วยไม้ชนิดเดียวกัน ในขณะนั้นในเวลานั้นเองก็มีบรรดานักกล้วยไม้คนอื่นๆ เข้ามามุงดูและวิพากษ์วิจารเกี่ยวกับกล้วยไม้ต้นนี้ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจที่คนเหล่านั้นพูด จึงขอให้คุณประวิทย์แปล จึงได้ความว่าทุกคนต่างประหลาดใจ และพิศวง ไปกับสี และความงามที่หาได้ยากยิ่งของฟาแลนด์เขากวางอ่อน ต้นนี้
         ขณะนั้น ผมรู้สึกขึ้นมาว่า คุณประวิทย์ อาจจะเสียดาย และเศร้าสำรับข้อเสนอที่ได้มอบให้กับผม ซึ่งได้ตกลงซื้อและจ่ายเงินแก่แม่ค้าไปแล้ว ทั้งคงเป็นเรื่องที่ทำความยุ่งยากใจ แก่คุณประวิทย์ หากผมจะมอบคืนกลับไปให้เขา และเพื่อการแก้ปัญหาสำรับ สถานการณ์ที่น่าลำบากใจนี้ ผมจึงบอกเขาว่าเราจะเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยผมจะแบ่งหน่อหรือตะเกียงคืนให้เขาเมื่อมันโตขึ้นแล้ว ซึ่งผมจะนำมันมาให้ในการเดินทางมาประเทศไทยครั้งต่อๆไป
         ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ผมได้นำเขากวางอ่อนดอกแดงต้นนี้ เข้าร่วมในงานประกวดกล้วยไม้ระดับภูมิภาค ที่เมืองนิวยอร์ค และได้รับรางวัลเกียรตินิยม ระดับ Judges Commendation Award จากสมาคมกล้วยไม้อเมริกัน หรือ JC/AOS สำรับ กลีบดอกที่ไร้ลายประจุดใดๆ รวมถึงสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ดังคำอธิบายแจกแจงรายละเอียดของกล้วยไม้ที่ได้รับรางวัลดังนี้ : "มีสองดอก กับอีกหนึ่งดอกตูม บนก้านดอกหนึ่งก้าน สำรับต้นนี้ ปรากฏชัดว่าเป็นสายพันธุ์เพียงหนึ่งเดียวที่มีม่วงแดงเข้ม และมีสีจัดทั้งสองด้านของกลีบดอก"
    กล้วยไม้ฟาแลนด์เขากวางอ่อน ดอกแดง ต้นนี้ จึงได้ถูกตั้งชื่อว่า สายพันธุ์ “ ประวิทย์ ฉัตรลดา” (Cultivar . Pravit Chattalada) เพื่อเป็นเกียรติ และยกย่องถึงแหล่งที่มาจากคุณประวิทย์ นั่นเอง



          ในระหว่างนั้น ทุกอย่าง ก็ไม่ได้เป็นไปด้วยดีเสมอไปนัก สำรับคุณกล้วยไม้ส่วนของประวิทย์ วันหนึ่ง ที่บ้านพักย่าน Armonk ในนิวยอร์ค เขาเข้าไปในโรงเรือน ในจังหวะเวลาพอดีที่นกตัวหนึ่งกำลังบินหนีไปสิ่งที่เหลืออยู่คือกระเช้า กล้วยไม้ใบหนึ่งที่ว่างเปล่า เป็นไปได้ว่ากล้วยไม้ในกระเช้าต้นนั้นอาจยังไม่ทันเจริญเติบโตได้ดีนัก จากความโชคไม่ดีของคุณประวิทย์ ทำให้ผมคิดที่จะขยายพันธุ์ฟาแลนด์เขากวางแดงต้นนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะต้องได้หน่อจากต้นแม่ เพื่อแบ่งไว้ให้คุณประวิทย์
    ผมได้จัดการติดต่อไปยัง Mr. Maynard Michel ใน Berkeley รัฐ แคลิฟอร์เนีย เพื่อทำการชักนำต้นให้เกิดจากก้านดอกอ่อนในห้องในห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อ โดยมีข้อตกลงจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ได้ให้กับเจ้าของ แล็ป เพื่อเป็นการจ่ายตอบแทน(ซึ่งผมเข้าใจว่า ภายหลังเขาคงขยายปริมาณ เพิ่มเติมอีกมากขึ้นกว่านั้น) ภายหลังผมได้นำหน่อนั้นกลับมาประเทศไทย ซึ่งคุณประวิทย์ได้ดูแลมันต่อมาจนเจริญเติบโต เป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณประวิทย์มีความคิดที่จะเลิกเลี้ยงกล้วยไม้ เนื่องจาก ปัญหา เรื่องคุณภาพน้ำที่แย่ลงที่บ้านของเขาและด้วยเหตุผลอื่นๆอีกส่วนหนึ่ง
    และด้วยความที่คุณประวิทย์ ไม่สามารถละเลยฟาแลนด์เขากวางแดง ต้นนี้ซึ่งมีคุณค่า มากกว่าจะปล่อยทิ้งไป เขาจึงได้จัดการส่งมอบให้เพื่อนนักกล้วยไม้ คนหนึ่งที่เชียงใหม่ เพื่อรับเลี้ยงและดูแลต่อไป นั่นคือคุณ ชิเนนทร ทิพากรกานต์ นักกล้วยไม้ผู้เชี่ยวชาญ การปลูกเลี้ยงและเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ กล้วยไม้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ฟ้ามุ่ยเผือก สามปอยหลวง และสามปอยขุนตาน ที่มีรูปทรงและสีสัน งดงามหลากหลาย คุณชิเนนทรได้เป็นผู้ผสมเพื่อพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กล้วยไม้ทั้งสองชนิด จนได้ต้นมากมายหลายต่อหลายต้นในครอบครองที่มีลักษณะดีเด่นที่สุดอย่างไม่ ต้องสงสัย
         ด้วยความยินดีในความเอื้อเฟื้อ ครั้งนี้ คุณชิเนนทรได้ประสานงานกับคุณประวิทย์ ในการส่งกล้วยไม้ต้นนี้ขึ้นมาเชียงใหม่ และเนื่องด้วย คุณชิเนนทรเคยได้ยินเรื่องของฟาแลนด์เขากวางอ่อนแดงต้นนี้มาก่อน จึงได้ดูแลเป็นอย่างดีจนมันเจริญเติบโตเป็นเวลาหลายปี แต่ถึงกระนั้นก็ดีก็ยังดูไม่มีอนาคต สำรับฟาแลนด์เขากวางแดงต้นนี้ ที่จะขยายพันธุ์ด้วยการผสมเกสร ในต้นเดียวกันเพื่อติดฝัก ความพยามยามทั้งหมดดูไร้ผล ทั้งจากผสมของผมเอง Mr. Maynard Michel และคุณชิเนนทร ผมและบางทีพวกเขาเหล่านั้นด้วย ได้พยายามผสมข้ามชนิด กับกล้วยไม้ฟาแลนด์พันธุ์แท้ และลูกผสมชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จเลยแม้แต่ครั้งเดียว เราจึงลงความเห็นว่ามันน่าจะเป็นหมัน และการขยายพันธุ์ที่ได้ น่าจะมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และ การชักนำให้เกิดต้นจากก้านดอก ในห้องปฏิบัติการ เท่านั้น




    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |