• Share |
  • ฟ้ามุ่ย กล้วยไม้ ที่กำลังถูกคุกคาม


                                                      เรื่องโดย ดร.สันติ วัฒฐานะ สำนักวิจัยและพัฒนา องค์การสวนพฤกษศาสตร์

         ในบรรดากล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้ อาจกล่าวได้ว่า ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea,Blue Vanda) เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมากที่สุดและถือว่าเป็นราชินีแห่งกล้วยไม้สกุลแวนด้าที่มีดอกสีฟ้าอ่อนจนถึงสีฟ้าอมม่วง มีลายตารางสีเข้มบนพื้น ดอกบานเต็มที่กว้าง ๔-๘ซม. ออกดอกเป็นช่อได้ยาวถึง ๖o ซม. เราสามารถพบฟ้ามุ่ยได้ตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ฤดูออกดอกจะอยู่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม กระจายพันธ์ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ เมียนม่าร์ และตอนเหนือของประเทศไทย ดอกกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจะบานนานนับเดือน ยามออกดอกฟ้ามุ่ยจะชูช่อดอกดุจดั่งดอกไม้ที่มีการจัดแต่งไว้อย่างดี ซึ่งชาวบ้านในภาคเหนือหลายแห่งนิยมนำมาปลูกประดับไว้หน้าบ้าน
         เฉกเช่นเดียวกันกับกล้วยไม้ทีมีดอกสวยงามชนิดอื่น ๆ ความสวยงามที่ธรรมชาติได้มอบให้เป็นที่นิยมพึงใจแก่ผู้พบเห็นทำให้มันถูกนำออกจากป่าเป็นจำนวนมากมีผลให้ประชากรในธรรมชาติลดน้อยลงและส่งผลทำให้พันธุกรรมอ่อนแอไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงเนื่องจากจำนวนต้นที่มีอยู่น้อยในแหล่งเดียวกัน จึงเกิดการผสมกันในคู่ผสมที่สายเลือดชิดกันเกินไป ซึ่งส่งผลในเกิดลูกหลานที่ไม่แข็งแรงและไม่ต้านทานโรค



         ฟ้ามุ่ยเคยถูกจัดให้เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในบัญชีควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเข้มงวดหรืออยู่ในไซเตส(CITES)บัญชีที่๑ (การพิสูจน์ว่าเป็นต้นที่เกิดจากการขยายพันธุ์เทียมเท่านั้น)เพื่อควบคุมไม่ให้มีการนำต้นออกจากป่ามาจำหน่าย แต่ในปี พ ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยได้เสนอให้มีการถอดถอนชื่อกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยออกจากไซเตส บัญชี ๑ ไปอยู่ในไซเตส บัญชีที่ ๒ เพื่อจะได้เปิดช่องทางให้มีการพัฒนาพันธุ์เพื่อการค้ามากขึ้น
         สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ได้เห็นความสำคัญของปัญหาประชากรกล้วยไม้ในธรรมชาติถูกคุกคามจนอ่อนแอ จึงได้ดำเนินการและจัดทำกิจการด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของกล้วยไม้อย่างยั่งยืน เริ่มตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๕๓๘ ได้สำรวจและรวบรวมพันธุ์ กล้วยไม้ ป่าจากธรรมชาติ และนำเมล็ด กล้วยไม้ มาเพาะเลี้ยง บนอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อและควบคุมปัจจัยการเจริญเติบโต ทั้งนี้มุ่งให้ความสำคัญกับกล้วยไม้ที่หายาก หรือ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ ทำการอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยไม้ป่าไทยในสภาพปลอดเชื้อได้จำนวน ๑๘o ชนิด มีการปรับสภาพลูกกล้วยไม้ต้นจิ๋ว ให้แข็งแรง ก่อนนำไปคืนสู่ถิ่นกำเนิด ตามสภาพธรรมชาติ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย



          การอนุรักษ์ ทรัพยากรพืชที่ดีที่สุด คือ การปล่อยให้พันธุ์พืชเหล่านั้น อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ โดยที่มนุษย์เราไม่ไปรบกวน ปล่อยให้เกิดกระบวนการปรับตัว และวิวัฒนาการไปเองโดยธรรมชาติ แต่เนื่องจาก สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ จึงเป็นการเร่งในพืชพรรณ ต่างๆสูญพันธ์ เร็วขึ้น การนำตัวอย่างต้นพันธุ์ มาเก็บรักษานอกถิ่นอาศัย เช่นในสวนพฤกษศาสตร์ จะเป็นเหมือนคลังกักตุน เชื้อพันธุกรรม สำรองไว้คืนสู่ธรรมชาติต่่อไป อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพควรมีชุมชนเป็นส่วนร่วม และดำเนินการ ควบคู่กันไป ทั้งการอนุรักษ์ในถิ่นอาศัยและ นอกถิ่นอาศัย
         พื้นที่ ที่เป็นบ้านตามธรรมชาติของฟ้ามุ่ย มักเป็นป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง ๑ooo-๑๖oo เมตรจากระดับน้ำทะเล การสำรวจประชากร กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยบริเวณรอบๆสวนพฤกษศาสตร์ เริ่มสำรวจกันอย่างจริงจัง เมื่อ พศ. ๒๕๔๙ พบว่ามีจำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ต้นแม่พันธุ์ ที่พร้อมติดดอกติดผล มีจำนวนน้อยมาก บ่งบอกถึงความอ่อนแอของประชากร กล้วยไม้่ ฟ้ามุ่ย ตามธรรมชาติ แม้้ว่าจะอยู่ในสภาพป่าที่สมบูรณ์ และ เมื่อไม่นานที่ผ่านมานี้ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด และไม่อยากให้เกิดขึ้น เมื่อทีมสำรวจฟ้ามุ่ย จากสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และกองคุ้มครองพันธ์พืช กรมวิชาการเกษตร ได้พบเห็นการตัดต้นหว้าป่า ขนาด ๒ คนโอบ สูงประมาณ๓oเมตร เมื่อเราสำรวจดูพบ กล้วยไม้ ที่เกาะบนต้นหว้านี้ ถึง ๙ ชนิด ได้แก่ เอื้องกิ่งดำ เอื้องสายน้ำผึ้ง เอื้องก้างปลา เอื้องคำ เอื้องคำป็อก เอื้องนิ่ม เอื้องสายน้ำเขียว เอื้องผึ้ง และฟ้ามุ่ย และยังพบหลักฐานว่า มีการถกเอาฟ้ามุ่ยต้นใหญ่ๆ ออกไปจากต้นไม้ที่เพิ่งจะถูกล้มนี้ไม่ต่ำกว่า ๑o ต้น เห็นเป็นรอยและซากรากของ กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ย นับเป็นหลักฐานที่แฝงด้วยความน่าเศร้้าใจเป็นอย่างยิ่ง



          ทีมนักวิชาการ จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า หากไม่มีชุมชนมาเป็นส่วนร่วมการอนุรักษ์กล้วยไม้ฟ้ามุ่ยที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักนี้คงไม่ประสบผลสำเร็จแน่นอนเพราะอย่างน้อยชุมชนชาวบ้านที่อยู่รอบพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัย ได้ช่วยดูแลพ่อแม่พันธุ์หรือหยุดการนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากป่าและรักษาให้เป็นพันธุกรรมในธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งถือเป็นโชคดีที่ในปี พ ศ.๒๕๕๑ได้เกิดความร่วมมือกันอย่าง บูรณาการ ระหว่างสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง และชาวบ้าน หมู่บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการอนุรักษ์ กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ย และป่าต้นน้ำในหมู้่บ้านปงไคร้ ที่ได้มีกิจกรรมคืน กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ยสู่ป่าต้นน้ำปงไคร้ และขอให้สวนพฤกษศาสตร์ ดำเนินการนำ กล้วยไม้ คืนสู่แหล่งธรรมชาติ



          สภาพป่าต้นน้ำ ของหมู่บ้านปงไคร้ มีความสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ขนาดใหญ่ๆ ค่อนข้างหนาแน่น มีลำธารและน้ำตกขนาดเล็ก ชาวบ้านได้ร่วมมืิอร่วมใจกันอนุรักษ์ และปกป้องผืนป่าต้นน้ำแห่งนี้ ไว้ให้เป็นแหล่งต้นน้ำไปชั่วลูกชั่วหลาน จนกระทั่งได้รับรางวัลหมู่บ้านอนุรักษ์ป่าดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ สำรับในบริเวณหมู่บ้านชาวบ้านนิยม ปลูกกล้วยไม้ ฟ้ามุ่ย เป็นไม้ประดับ จึงได้มีการเสนอหมู่บ้านปงไคร้เป็นหมู่บ้านฟ้้ามุ่ย โดยให้เพิ่มจำนวนการปลูก กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ยที่ได้จากการเพาะเมล็ด เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เพื่อให้เพิ่มศักยภาพ ให้ กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ยเป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน และเสนอให้ชาวบ้านปงไคร้ ทำบุญ บริจาคต้นฟ้ามุ่ยบางส่วน ที่ปลูกไว้ในบ้าน ที่สามารถนำออกคืนสู่ป่าได้ โดยต้องเป็นฟ้ามุ่ยที่เคยอยู่ในป่านี้เท่านั้น ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนักวิชาการขององค์การสวนพฤกษ์ศาสตร์ จะนำต้นพ่อแม่พันธุ์ ฟ้ามุ่ย นี้ขึ้นไปติดที่ระดับความสูง ๑๕-๒๕ เมตร ให้เหมือนกับธรรมชาติ ซึ่งหลังจากการขอบริจาคต้น กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ยนี้ ภายในวันเดียว ได้รับรายงานว่า ชาวบ้านพร้อมจะมอบฟ้ามุ่ยคืนให้จำนวน ๗๖ ต้น โดยสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้มอบต้น กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ย ต้นจิ๋ว ที่ออกจากขวดได้ประมาณ๓-๖ เดือน ให้กับผู้ที่บริจาคฟ้ามุ่ย คนละ ๑o ต้น แต่ทั้งหมดไม่สำคัญเท่า การมีส่วนร่วมทำความดี อนุรักษ์ กล้วยไม้ฟ้ามุ่ย ให้คงอยู่ไป ชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งไม่แน่ว่า ต่อไป อาจเป็นพื้นที่หนึ่งที่รองรับ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นแหล่งเดินป่าดู กล้วยไม้ ฟ้ามุ่ยในสภาพธรรมชาติ และส่งผลให้ชุมชนมี ชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพาลูกจูงหลาน เดินป่าดูนกชมไม้ แลกเปลื่ยนและถ่ายทอดภูมิปัญญา หาเห็ด เก็บใบ เก็บดอก มาทำกับข้าวได้อีก คุณภาพชีวิตก็ดี จิตใจก็มีความสุข มีสมาธิและปัญญา ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาชีวิตที่ พวกเรากำลังเผชิญ กับโลกอันแสนวุ่นวาย และเปลื่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ....


    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |