เอื้องสามปอยดง
สามปอยดง เป็นสามปอยที่มีขนาดกลาง สามปอยชนิดนี้เป็นสามปอยที่หาได้ยากขึ้นในปัจจุบัน สามปอยดงนั้นมีพื้นสี ของดอกหลากหลายเช่นเดียวกับสามปอยนก คือสีแดงเลือดหมู สีน้ำตาลอมแดง สีน้ำตาลขุ่น สีพื้นเหลืองเขียวมี ลายสมุกเส้นสีน้ำตาลตลอดทั้งดอก และสีเขียว หรือ เผือก โดยทั่วไปที่พื้นดอกมีลายสมุกชัดกว่าสามปอยนก กลีบดอกของสามปอยดงนั้นมีทั้งลักษณะที่คล้ายกับสามปอยนก และ สามปอยดง ที่มีลักษณะฟอร์มกลม นั้นจะหาได้ยากกว่า บริเวณของปากดอกจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง บางต้นมีปากเป็นสีเขียว และลึกเข้าไปบนบริเวณ ของแผ่นสันด้านข้างของกลีบปาก หรือที่เรียกกันว่า side lobe จะมีลักษณะเป็นสีขาวสะอาด แต่บางต้นก็พบว่ามี ลักษณะสีน้ำตาลหรือ มีแต้มสีน้ำตาลประเป็นจุดถี่ ๆ อยู่ เมื่อครั้งอดีตกาล สามปอยดงถูกจำแนกให้อยู่ในชื่อวิทยา ศาสตร์เดียวกับสามปอยขุนตาน

ผมได้ติดตามเรื่องสามปอยดงอย่างใกล้ชิดและได้พบกับตำรา
กล้วยไม้ภาษาไทยเล่มแรกที่เก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่งของไทย เป็นพระ
นิพนธ์ของ จอมพลเรือ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรก
เมื่อปี พ ศ.๒๔๖o
พระองค์ท่านได้กล่าวถึงสามปอยขุนตานที่ได้จากชาวบ้าน ทรงได้จำแนกออกไปเป็น ๓ แบบ และ ๑ ใน ๓ แบบที่
ได้กล่าวถึงนั้นคือมีลักษณะสีแดงเลือดหมู มีลายสมุกแรด้วยเส้นสีน้ำตาลแดง แผ่นปากสีเขียวต่างจากสามปอย
ขุนตานทั่วไป ซึ่งลักษณะดังกล่าวที่ท่านได้เล่านั้นตรงกับสามปอยดง ทุกประการต่างกันเพียงชื่อ เนื่องจากสมัยนั้น
สามปอยบางชนิดยังไม่ถูกแยกชื่อออกจากกันนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในครั้งที่สามปอยดงยังไม่ถูกแยกให้ออกจากสามปอยขุนตาน สามปอยดงยังถูกเรียก
อีกชื่อหนึ่งว่า สามปอยขุนยวม เนื่องจากเมื่อในอดีต ชาวบ้านขุนยวมได้นำสามปอยดงจากป่า มาจำหน่ายในท้อง
ตลาดอำเภอขุนยวมที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งในขณะที่ไม่มีดอก สามปอยขุนตานและสามปอยดง จะมีลักษณะต้น
และใบที่คล้ายคลึงกันมาก เมื่อมีนักเลี้ยงกล้วยไม้ได้มาพบเห็นเข้าและนำไปเลี้ยงเมื่อออกดอก จึงเข้าใจว่าเป็น
สามปอยขุนตานอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะดอกใหญ่ พื้นดอกสีน้ำตาลเข้ม มีลายสมุกสีม่วงแดง จึงต่างพากันเรียก
สามปอยดงที่เข้าใจว่าเป็นสามปอยขุนตานนี้ว่า สามปอยขุนยวม
Page Select [ 2 of 4 ]
← กลับไปก่อนหน้านี้ 1 | 2 | 3 | 4 พลิกหน้าต่อไป →