• Share |
  • การผสมพันธุ์เกสรกล้วยไม้

    ในธรรมชาติ ผู้ผสมเกสรกล้วยไม้ก็คงหนีไม่พ้นแมลงละครับ แต่ใน ทางศัลยกรรม ก็คงหนีไม่พ้นมือมนุษย์ นับว่าเป็นสิ่งโชคดีที่กล้วยไม้มี เกสรเพศผู้เพศเมียใหญ่ที่สุดในบรรดาเชื้อสายพืชทั้งหมดทั้งมวล เรา จึงสามารถผสมสายพันธุ์ของกล้วยไม้ได้โดยง่าย และไม่ต้องกังวลว่า จะมีอับระอองเรณูของกล้วยไม้ชนิดอื่นมาปะปนกับชนิดที่เราผสมไป *** ภาพผึ้งที่กำลังติดฝักกล้วยไม้ สังเกตุบนหลังของมันดี ๆ เม็ดสี เหลือง ๆ ที่มันแบก คือเกสรตัวผู้ครับ กล้วยไม้ที่บานเต็มที่จะส่งกลิ่นหอมเย้ายวนหลอกล่อแมลงเพื่อให้พวกมันมุดเข้าไปกินน้ำหวาน เมื่อแมลงมุดเข้าไปกินน้ำหวาน ทันทีที่แมลงสะกิดเพียงเบา ๆ ตรงหมุดเกสร เกสรตัว ผู้ก็จะหลุดติดหลังของแมลงทันที

    ซึ่งระบบนี้ทำงานคล้ายกับกับดักเลยทีเดียว และเมื่อแมลงบินไปยังดอกไม้ดอกอื่นเกสรตัวผู้ที่ติดอยู่บนหลังของมันก็จะไปสัมผัสกับเมือกของเกสรตัวเมียของดอกไม้ดอกอื่นและติดหนึบอยู่อย่างนั้น เพียงเท่านี้กล้วยไม้ก็ถูกผสมพันธุ์แล้วละครับ
    ****หากที่บ้านของคุณมีกล้วยไม้สกุลกุหลาบกระเป๋าเปิดและมีแมลงภู่บินอยู่ ลองสังเกตุติดตามมันให้ดีๆแมลงภู่พวกนี้จะชอบน้ำหวานจากดอกกล้วยไม้สกุลกุหลาบกระเป๋าเปิดมาก และบางครั้ง เราจะพบว่าที่บริเวณส่วนคอของมันจะมีเกสรตัวผู้ของกล้วยไม้ ติดเต็มไปหมด และที่แปลก เมื่อมันมุดเข้าไปในดอกไม้1ดอกเกสรก็จะหลุดติดเพียง1อันเท่านั้น !

    อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
    1. ไม้จิ้มฟัน (อาวุธหากินของฟาร์มกล้วยไม้เลยละครับ) เหตุผลคือ มันสะอาดกว่าไม้ที่เก็บได้ทั่วไป...
    2. ป้ายชื่อ ใช้สำหรับเขียนชื่อชนิดที่ผสม และ ว/ด/ป ที่ผลิตครับ !!
    3. ดินสอ 2b (หรือเข้มกว่า เพื่อตัวหนังสือที่ติดทนนานไม่เลือนจนลืม) ***ถ้าใช้ปากหมึกของปากกาที่ถูกน้ำบ่อย ๆ ประกอบกับถูกแสงแดดแผดเผา มันจะเลือนเอาเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ครับ
    4. ลวดฟิว หรือ สายไฟเส้นเล็ก ๆ ก็ได้ครับ (ถ้าลวดทั่วไปมันจะบาดโคนดอกได้) เอาไว้แขวนป้ายชื่อติดกับดอกครับ
    6. พันธุ์ไม้ที่ต้องการผสม
    พร้อมแล้วลุยโลด!!



    ขั้นตอนที่ 1 ให้เรานำไม้จิ้มฟัน เขี่ยดึงเจ้าเกสรตัวผู้ที่หลบอยู่ด้านในหมวกเกสรนี้ออกมาครับ เขี่ยมาแล้วจะได้ก้อนสีเหลือง กลม ๆ 2 ก้อน ติดมาเหมือนในภาพครับ
    ขั้นตอนที่ 2 นำก้อนเหลือง ๆ นี้ ใส่เข้าไปด้านใต้ที่เห็นในภาพครับ ในนั้นจะมีเมือกเหนียว ๆ อยู่ ให้เราดันเกสรตัวผู้เข้าไปลึก ๆ เลยครับ ป้องกันว่าเวลาเส้าเกสรบีบตัวจะได้ไม่หลุดออกมา การผสมแบบนี้ใช้ได้กับ กล้วยไม้ทุกสกุล ยกเว้นรองเท้านารีที่พิเศษกว่าชาวบ้านครับ
    เสร็จแล้วก็แขวนป้ายชื่อบอกด้วยว่า ผสมอะไรไป เช่น แวนดาใบร่อง x แวนดาฟ้ามุ่ย ตามด้วยวันที่ ผสม 27/03/53 เป็นต้น
    เกร็ด : ชื่อผสมที่เราเขียนในป้ายนั้น ชื่อที่อยู่ด้านซ้าย จะหมายถึงชื่อแม่พันธุ์ และชื่อทางด้านขวา จะหมายถึงพ่อพันธุ์ครับ โดยเราจะนำเครื่องหมาย X ขั้นระหว่างกลางของพ่อแม่พันธุ์ที่ผสม เช่น ต้นแม่เป็นแวนดาใบร่อง ต้นพ่อเป็นฟ้ามุ่ย เราจะเขียนว่า แวนดาใบร่อง x ฟ้ามุ่ย เป็นต้น
    TIP : ในการผสมเกสร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดอกถึงเวลาผสมแล้ว กรณีนี้ให้ดูดอกของกล้วยไม้ครับ เราจะผสมเกสรกล้วยไม้ก็ต่อเมื่อดอกบานเต็มที่แล้ว อย่างน้อย 2-3 วันก็ผสมได้แล้วครับ ผมเคยลองแงะดอกที่ตูมมาผสมแล้ว ก็ยังผสมติดเหมือนกันครับ ไม่มีข้อจำกัด ว่าจะติดตอนไหน เว้นเสียว่า มันเหี่ยวจวนจะร่วงอยู่แล้ว แล้วไปติดเกสร แบบนี้ก็ร่วงแน่นอนครับ !

    ดูยังไงว่ากล้วยไม้ของเราติดฝักแล้ว ?




    เมื่อเราผสมเกสรไปแล้ว ดอกกล้วยไม้จะแสดงอาการแพ้ท้องในวันต่อมาครับ ลองดูภาพประกอบด้านบนนะครับ
    1. คือภาพรวม ๆ ลองเดาดูซิครับว่าดอกไหนติดฝักไว้เอ่ย ?
    2. คือลักษณะของดอกกล้วยไม้ที่ยังไม่ได้รับการผสมเกสร ดอกจะเต่งตึง เส้าเกสระยังคงยาวเรียวผอมเพียวสวย และยังคงมีกลิ่นหอมแรง
    3. ลักษณะของดอก 1 วันให้หลังหลังจากผสมเกสร เพียงแค่ 1 วันเราจะสังเกตุอาการได้ทันทีว่าผสมสำเร็จหรือไม่ หากบริเวณเส้าเกสรเริ่มบวมเป่งกลีบดอกเริ่มเปลี่ยนสีต่างไปจากดอกอื่น ๆ แบบนี้แปลว่า อาจจะติด แล้วก็ได้ครับ ในช่วงนี้กลิ่นของเค้าจะเริ่มจางลงเพราะไม่ต้องใช้ล่อแมลงแล้วนั่นเองครับ
    4. ผ่านไปราว ๆ 1 สัปดาห์ กลีบจะเริ่มเฉาจนหมด ฐานรองดอกก็จะเปลี่ยนเป็นฝักครับ หากผสมไม่ติดจะกลายเป็นสีเหลืองและร่วงไปในที่สุด
    เกร็ด : ในการผสมกล้วยไม้ อายุฝักจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด บางชนิดถือฝักเป็นปี บางชนิดถือฝักเพียง 5-6 เดือน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจดวันที่ผสมติดป้ายเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ฝักแตกก่อน หากฝักแตกแล้ว เราจะไม่สามารถนำส่งเพาะแล็ปกล้วยไม้ได้ !

    ดูอย่างไรว่าฝักแก่ ไม่แก่ ?

    วิธีการดูฝักนั้นไม่ยากเลยครับ ฝักที่แก่แล้วจะเริ่มเปลี่ยนสี จากเขียวเป็นเหลือง และผิวฝักก็จะดูแก่ตามอายุฝักไปด้วยเช่น กัน มันก็เหมือนมนุษย์เรานี่แหละครับ เด็ก ๆ ผิวเต่งตึงดูมี น้ำมีนวล พอแก่แล้วก็ผิวแห้ง ไม่ชุ่มฉ่ำเหมือนเดิม ถ้าฝักแก่มากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองตรงปลายจุกเดิมที่เคยมี กลีบดอกติดอยู่ครับ เมื่อแก่เต็มที่ บริเวณปลายฝักจะเริ่มแตก ออกก่อน และรอยแตกจะเริ่มยาวขึ้นมาจนถึงด้านบนสุดครับ



    ภาพที่ 1 คือฝักสายม่วงที่เกิดจากการผสมไปแล้ว 3 เดือนเศษ ๆ ฝักยังเขียวสวยเต่งตึง ภายในฝักยังคงเป็นเมล็ดอ่อนอยู่ ยังไม่พร้อมตัดส่งแล็ปเพาะพันธุ์
    ภาพที่ 2 คือฝักสายม่วงต้นเดียวกัน แต่เวลาผ่านไปแล้วราว ๆ 13 เดือน (1ปี1เดือน) ฝักแก่เกินไปที่จัดตัดส่ง เนื่องจากตรงปลายฝักแตกไปเสียแล้ว
    ภาพที่ 3 ฝักของสายม่วง 1 ปี 1เดือน ฝักเปลี่ยนเป็นสีแดงและเริ่มเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ ช่วงที่ฝักยังไม่แตกและอายุมากขนาดนี้สามารถตัดส่งเพาะได้แล้วครับ

    ภายในฝัก ?

    เมื่อฝักกล้วยไม้แตกออก เราจะพบกับผงสีเหลือง ๆ ส้ม ๆ ผงเหล่านี้คือเมล็ดของกล้วยไม้ครับ เมล็ดนับล้านเมล็ดนี้ จะปลิวไปตกตามบริเวณต่าง ๆ ของต้นไม้ในป่า และจะงอกเป็นกล้วยไม้ต้นใหม่ แต่จะงอกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้น และ แสงที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน



    เมล็ดของกล้วยไม้แทบทุกสายพันธุ์พอลองส่องด้วยกล้องแล้วน่าตาก็จะคล้าย ๆ กันครับ ในภาพเป็นเมล็ดของกล้วยไม้สกุลกุหลาบกระเป๋าเปิด ดูไปดูมาละม้ายคล้ายหัวมดแดงที่ชอบทำรังบนมะม่วงเลย ส่วนเมล็ดของสกุลหวายจะละคล้าย ๆ กับไข่ของเหา ครับเพียงแต่เป็นสีส้มเท่านั้น
    TIP : เมล็ดกล้วยไม้ทีเป็นผงนี้ หากนำไปโรยบนเครื่องปลูกรองเท้านารีหรือรากชายผ้าสีดา หากมีความชื้นเหมาะสม จะงอกเป็นต้นใหม่เอง อย่างน้อย 2 - 5 ต้น ครับ
    จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อน ๆ จะมีความสุขกับการเลี้ยงกล้วยไม้มากขึ้นไปอีกนะครับ !



    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |