5 วิธีป้องกันด้วงงวงมันเทศ
ด้วงงวงมันเทศ หรือรู้จักกันในชื่อของเสี้ยนดินในบางพื้นที่ นับเป็นแมลงที่สร้างปัญหาให้อย่างมากกับเกษตรกรผู้ปลูกมันหวานในประเทศไทย มันไม่เพียงทำให้หัวมันหวานดูขรุขระจนไม่น่ามอง แต่มันยังทำให้รสชาติของหัวมันที่ควรมีรสหวานกลับกลายเป็นขมได้อีกด้วย นอกจากนี้ตัวแมลงยังมีความสามารถพิเศษในการแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเทคนิคมุดเจาะเข้าไปตามปล้องโคนต้นมันหวานแล้วค่อย ๆ ทะลวงไปจนถึงหัวมันที่อยู่ไต้ดิน แมลงจะเริ่มสร้างถิ่นพำนักถาวรในนั้นราวกับเป็นคอนโดมิเนียมหรูที่มีอาหารพร้อมเสริฟไว้คอยเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเกิดขึ้นหลายพันตัว และเมื่อมันเริ่มสร้างอนาจักรในหัวมันได้แล้วละก็ จะไม่มีเชื้อจุรินทรีย์หรือยาชนิดไหนที่สามารถกำจัดมันได้อีกเลย..
แต่ก็ไม่หมดหวังไปซะทีเดียว เพราะไม่ได้มีแค่เราเพียงประเทศเดียวที่พบกับปัญหาจากแมลงชนิดนี้ ในต่างประเทศเช่นทางแถบแอฟริกาซึ่งเป็นบ้านเกิดของด้วงงวงมันเทศเองก็ประสบปัญหาแบบเดียวกันแต่หนักกว่า ด้วยเหตุนี้ทีมงานนักวิจัยงานเกษตรทางฝั่งแอฟริกาและเคนยาจึงได้ค้นหาวิธีและพบคำตอบถึง 5 ทางที่จะสามารถป้องกันด้วงงวงมันเทศได้
วิธีที่ 1. ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ด้วงงวงมันเทศเกลียด
เมืองชายฝั่งที่ชื่อ Kilifi ในประเทศเคนย่า ชาวบ้านระแวกนั้นค้นพบวิธีป้องด้วงงวงมันเทศอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วยการใช้กิ่งและใบของของต้นผกากรองวางฝังลงไปในร่องแปลงจำนวนมาก ด้วยวิธีการนี้ทำให้ผลผลิตของมันหวานในเมืองนี้มีคุณภาพและสามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นจำนวนมาก ต่างจากพื้นที่อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด
และนอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยประเทศไต้หวันมีการพบว่าการปลูก ถั่วชิกพี, ผักชี, ฟักทอง, หัวไชเท้า, ยี่หร่า, ถั่วดำ, ถั่วฝักยาว สามารถลดการเข้าโจมตีของด้วงงวงมันเทศได้ในระดับหนึ่ง
การปลูกพืชประเภท มันสัมปะหลัง, กล้วย และ ข้าวฟ้าง ห่างจากตัวแปลง 3-5 เมตร สามารถเป็นกำแพงป้องกันแมลงไม่ให้เข้ามาใกล้ได้เช่นกัน
ในประเทศไทยบางท่านนิยมใช้น้ำส้มควันไม้และน้ำหมักอินทรีย์ฉีดพ่นทุก 3-5 วันบนแปลงเพื่อไล่แมลงไม่ให้เข้ามาใกล้พื้นที่ที่ปลูกมันเป็นต้น
วิธีที่ 2. ให้ชีวภาพเข้าช่วย
image cr : https://www.invasive.org/browse/detail.cfm?imgnum=5368214
งานวิจัยหลายเล่มพบว่าการใช้เชื้อจุรินทรีย์หรือเชื้อรา บิวเวอร์เรีย หรือ เมธาไรเซียม สามารถกำจัดและป้องกันตัวเต็มวัยของด้วงงวงมันเทศได้ แม้ไม่ทั้งหมดแต่ก็สามารถช่วยให้เก็บผลผลิตได้มากกว่าไม่มีการควบคุมใด ๆ เลย
วิธีการป้องกันด้วยบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม ผู้ปลูกต้องฉีดพ่นเชื้อจุรินทรีย์ให้ถูกตัวแมลง โดยต้องเลือกเวลาที่แมลงออกมามากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าช่วงเวลา 5 โมงเย็นไปจนถึงช่วงกลางคืนจะพบตัวแมลงเยอะกว่าช่วงกลางวัน
หรือในอีกวิธี การลดใช้สารเคมีเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้แมลงหางหนีบเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งแมลงชนิดนี้นับได้ว่าเป็นตัวห้ำหลักของด้วงงวงมันเทศ
วิธีที่ 3. ทิ้งระยะและให้เวลาช่วยจัดการ
การปลูกมันหวานเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าระบาดด้วงงวงมันเทศบางครั้งอาจจะต้องใช้เวลาเข้าช่วย เช่น
- เว้นระยะการปลูกภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในครั้งแรกอย่างน้อย 3-4 เดือน เพื่อลดจำนวนแมลงที่เคยมีอยู่ให้น้อยลงก่อนทำการปลูกรุ่นใหม่ หรือ ใช้วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นต้น
※ การปลูกซ้ำเป็นเสมือนการสร้างฟาร์มมันหวานให้แมลง เนื่องจากแมลงจะยึดพื้นที่นี้เป็นที่อยู่และแพร่พันธุ์ซึ่งจะกลายเป็นว่าไม่สามารถกำจัดแมลงได้อีกเลย - ไม่ควรสร้างแปลงใหม่ใกล้กับบริเวณที่มีการระบาดของแมลง
- อาจต้องปลูกพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ส้มโอกินาว่า, เพอเพิ้ลสวีทลอร์ด เป็นต้น
- การคำนวนช่วงเวลาการปลูกเช่นให้ระยะการลงหัวอยู่ทับในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่แมลงระบาดได้น้อยจะช่วยให้เก็บผลผลิตได้กว่าช่วงฤดูร้อนและแล้ง
วิธีที่ 4. สะอาดไว้ปลอดภัยกว่า
การเก็บกวาดพื้นที่รอบแปลงและในแปลงให้สะอาดและไม่มีวัชพืชชนิดอื่นสามารถช่วยป้องกันไม่ให้แมลงเข้ามาอยู่ในแปลงของเราได้ดีขึ้น นอกจากนี้การคลุมพลาสติกเองก็สามารถช่วยลดการเข้าทำลายได้เช่นกัน แต่ต้องเลือกใช้พลาสติกให้ถูกฤดูกาลเนื่องจากตัวพลาสติกนั้นดูดซับความร้อน หากนำพลาสติกมาคลุมในช่วงฤดูร้อน ต้นมันหวานจะถูกเผาและแห้งตาย หรือ อาจทำให้ใบของมันหวานไหม้ได้
นอกจากนี้การเลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดและเป็นท่อนพันธุ์จากพื้นที่ปลอดแมลงจะช่วยให้แปลงของเราพ้นการระบาดไปอีกหลายเดือน และในการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเทศไต้หวันพบว่า การตัดท่อนพันธุ์ส่วนปลายที่มีความยาว 25-30ซม. ลดปัญหาตัวอ่อนแมลงติดมากับท่อนพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากแมลงมักเลือกวางไข่ในบริเวณส่วนท่อนที่อายุมาก
วิธีที่ 5. เบนความสนใจของมันซะ
ปัจจุบันในประเทศที่มีการปลูกมันหวานจำนวนมากมีการหันมาใช้เหยื่อล่อฟีโรโมนเพื่อเบนความสนใจของด้วงงวงมันเทศไม่ให้หลุดเข้าไปอยู่ในบริเวณของตัวแปลง โดยเหยื่อล่อนี้จะนำมาแขวนติดกับกับดัก เมื่อแมลงเข้ามาหาเหยื่อล่อจะติดกับและตาย ซึ่งช่วยลดจำนวนแมลงได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย แต่หากแปลงนั้นมีแมลงเข้าเจาะทำลายแล้ว แม้จะสามารถล่อแมลงเข้ามาติดกับได้แต่ก็ไม่สามารถลดจำนวนแมลงที่หลุดฝังตัวเข้าไปอยู่หัวมันได้ ดังนั้นหากต้องการใช้จำเป็นต้องแขวนไว้ในช่วงแรก ๆ ที่พบว่าเริ่มมีแมลงเข้ามาในแปลงแล้วเท่านั้น
*สำหรับท่านที่สนใจอยากทดลองเหยื่อล่อชนิดนี้ นายสวนมีแบ่งจำหน่ายสามารถแอดไลน์ด้วยการกดภาพด้านล่างและสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ
อ่านถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่าในประเทศญี่ปุ่นมีการป้องกันด้วงงวงมันเทศยังไง ซึ่งก็น่าเสียดายที่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะจึงไม่มีด้วงงวงมันเทศเข้าระบาดเหมือนบ้านเราและนอกจากนี้ด้วยกฏหมายการควบคุมการนำเข้าผักและผลไม้อย่างเข้มงวด จึงไม่มีมันเทศจากประเทศอื่นหลุดเข้าไปในเมืองเลยแม้แต่หัวเดียว แม้จะเคยมีข่าวการหลุดระบาดด้วงงวงมันเทศในพื้นที่ทางภาคไต้ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อนานมาแล้ว ญี่ปุ่นก็ได้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดด้วยการใช้ โคบอล-60 บนพื้นที่ระบาดเพื่อให้แมลงเป็นหมันและศูนย์พันธุ์ไป แน่นอนว่าพื้นที่เขตนั้นถูกสั่งห้ามไม่ให้ประกอบการใด ๆ อีกถึง 10 ปี และเมื่อเวลาผ่านพ้นครบตามที่กำหนด ก็มีการกลับมาปลูกมันหวานได้ใหม่อีกครั้งโดยปราศด้วงงวงระบาดซ้ำสอง นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้วในสหรัฐอเมริกาเองก็มีรัฐบางรัฐที่ปลอดด้วงงวงมันเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่ารัฐนั้นจะสั่งห้ามนำเข้ามันหวานจากรัฐอื่นอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันไม่ให้ด้วงงวงหลุดเข้าไปในเขตเพาะปลูกของเขานั่นเอง