• Share |
  • ปุ๋ยกับกล้วยไม้



    นอกเหนือจากน้ำแล้วกล้วยไม้จำเป็นต้องอาศัยแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต ปุ๋ยจึง เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเป็นส่วนช่วยทำให้กล้วยไม้งอกงาม ปุ๋ยมีประโยชน์ต่อกล้วยไม้ หลายอย่าง เช่น
    - ช่วยทำให้กล้วยไม้ แข็งแรงทนต่อโรคและแมลงที่มารบกวน
    - ช่วยทำให้กล้วยไม้ดอกใหญ่และมีสีสดขึ้น !
    - ช่วยให้ฝักกล้วยไม้สมบูรณ์มีเมล็ดที่แข็งแรง เมื่อนำไปเพาะก็จะงอกงามมาก
    - ช่วยทำให้หน่อ ตา ราก เจริญเติบโตเร็ว ทำให้ส่วนขยายพันธุ์ มีปริมาณมากขึ้น
         ปุ๋ยกล้วยไม้ส่วนใหญ่เป็นอนินทรีย์สาร มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆที่พืชต้องการ หลักๆมี ๑๖ ชนิด บางชนิดกล้วย ไม้ต้องการมาก บางชนิดก็ต้องการน้อย เราสามารถแบ่ง ออกเป็นสองพวก คือ
    ๑) แร่ธาตุที่ป็นพวกธาตุอาหารหลัก ประกอบด้วย ธาตุ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โปแทสเซียม(K)
    ๒) แร่ธาตุที่ป็นพวก ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย ธาตุ แคลเซียม แม็กนีเซียม กำมะถัน ทองแดง สังกะสี เหล็ก คลอรีน แมงกานีส โบรอน โมลิบดินั่ม
    *** นอกจากนี้ยังมี อ๊อกซิเจน โฮโดรเจนและก๊าซ คาร์บอนไดอ๊อกไซน์ ซึ่งได้จากอากาศและน้ำนั่นเองครับ
         เช่นเดียวกับมนุษย์เรา กล้วยไม้เองก็ต้องการธาตุอาหารหลักเช่นเดียวกับคนที่ต้องการโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน และอื่น ๆ ทีนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่าธาตุอาหารหลักของกล้วยไม้มีอะไร กันบ้าง ?
    ธาตุอาหารหลัก (N P K) เป็นธาตุที่กล้วยไม้ต้องการใช้มากกว่าธาตุอื่นๆ ซึ่งถ้าขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไป กล้วยไม้จะ แสดงอาการให้เห็นได้ชัด ปุ๋ยเคมีต่างๆที่มีขายทั่วไป จึงประกอบด้วยธาตุหลักทั้ง๓นี้เป็นส่วนสำคัญ ในปุ๋ยแต่ละสูตร จะมีอัตราส่วนผสมธาตุอาหารมากน้อยไม่เท่ากัน โดย ใช้ ตัวเลขสามตัวระบุเป็นสำคัญ เช่น ปุ๋ยสูตร ๒๑-๒๑-๒๑ หรือที่เรียกว่าสูตรเสมอ ตัวเลข สามตัว ตัวแรกจะเป็นเปอร์เซ็นต์ ของธาตุ ไนโตรเจน / ตัวที่ สอง จะเป็นเปอร์เซนต์ ของธาตุฟอสฟอรัส / ตัวเลขที่สาม จะเป็นเปอร์เซนต์ ของธาตุ โปแทสเซียม ฉะนั้น ในสูตร ๒๑-๒๑-๒๑ จะมีธาตุหลักดังนี้
    ไนโตรเจน (N) ๒๑ ส่วนต่อ ร้อย
    ฟอฟฟอรัส (P) ๒๑ ส่วนต่อ ร้อย
    โปแทสซียม (K) ๒๑ ส่วนต่อ ร้อย
    รวม ๖๓ ส่วนต่อร้อย
    หมายความว่า ปุ๋ยผสมที่มีน้ำหนัก ๑oo กิโลกรัม มีธาตุหลักที่จำเป็นต่อกล้วยไม้ ๖๓ ก.ก. ที่เหลือ ๓๗ ก.ก. เป็นพวก ธาตุอาหารรองอื่นๆอย่างละเล็กละน้อย และอินเนิร์ด(เป็นส่วนประกอบให้ปุ๋ยมีมวลทางปริมาตรและน้ำหนัก หรือ บางครั้งเรียกง่ายๆว่ากากของเนื้อปุ๋ย)
    **ส่วนอัตราส่วนของปุ๋ยที่ขายทั่วๆไปที่นิยมใช้กับกล้วยไม้ เช่น ๑o-๕๒-๑๗ (สูตรตัวกลางสูง/บำรุงดอก+ลำ ต้น/ราก) สูตร ๑๖-๒๑-๒๗ (ตัวกลางตัวท้ายสูงช่วยยืดช่อดอก+สีดอก)

    ธาตุอาหารแต่ละธาตุนั้นมีบทบาทอย่างไร ?
    ธาตุไนโตรเจน ช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางใบ ทำให้กล้วยไม้ มีใบสีเขียวและใหญ่งาม ทั้งนี้เพราะไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบสำคัญในโปรตีนของต้นไม้ แต่หากได้รับมากเกินไป จะทำให้กล้วยไม้เจริญแต่ทางใบอย่าง เดียว ยอดอ่อนสีเขียวจัด แต่ลำต้นอ่อนแอไม่มีแรงต้านทานโรค มักเกิดโรคง่าย โดยเฉพะโรคเน่ายอด ลำต้นไม่แข็ง แรงหักง่าย ไม่ค่อยออกดอกเพราะงามแต่ใบ แต่ทางตรงกันข้ามถ้าขาดธาตุนี้แล้ว จะทำใหใบเล็กซีดไม่มีสีเขียว ต้นแกรน

    ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่ช่วยให้ลำต้น แข็งแรง รากเจริญเร็ว และทำให้เกิดรากมาก ช่วยการแตกหน่อ ทำให้ ได้ดอกที่สมบูรณ์ มีผลดีในการผสมเกสร ทำให้เมล็ดแข็งแรง ถ้าขาดธาตุนี้ ต้นกล้วยไม้จะแคระแกรน มีรากน้อย หน่อใหม่ไม่สมบูรณ์ เล็กลีบ ออกดอกช้า แต่ถ้ากล้วยไม้ได้รับะตุนี้มากเกินไป จะทำให้ใบเล็กหดสั้น ลำต้นหดสั้นการ เจริญเติบโตผิดปรกติ

    ธาตุโปแทสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยการเจริญเติบโตของหน่อและยอด ช่วยในการสะสมอาหารในลำต้น ในระยะที่ กล้วยไม้พักตัว ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นแคระแกรน แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้ลำ ต้นสั้น ข้อ ปล้องถี่ผิดปรกติ ใบแข็งแกร็น ใบหด ปลายใบแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้เกรียม ปลายใบอ่อนออกมามัก จะเหี่ยว

    **ดังนั้นหากต้องการบำรุงกล้วยไม้ส่วนได ก็ให้เลือกสูตรปุ๋ยที่มีธาตุนั้น ๆ สูง เช่น ต้องการให้ลูกไม้โตเร็ว ก็ให้ใช้ หน้า สูง คือ ตัว P ต้องมีเลขมากที่สุด เช่นปุ๋ยสูตร ๓๐-๒๐-๑๐ เป็นต้นครับ

    ต่อมาเรามาดูธาตุประกอบกันบ้างนะครับ ธาตุประกอบ เป็นธาตุที่กล้วยไม้ต้องการจำนวนน้อย แต่มีความสำคัญ และจำเป็นในการช่วยให้กล้วยไม้ เจริญ เติบโต ธาตุเหล่านี้ได้แก่
    ธาตุอาหารรอง
         ธาตุอาหารรองเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้เป็นปริมาณเพียง เล็กน้อยเท่านั้น แต่ขาดไม่ได้เพราะมีความจำ เป็นต่อการเจริญของพิชธาตุเหล่านี้ได้แก่ แคลเซียม แม็กนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี กำมะถัน แมงกานีส โปรอน โมลิบดินั่ม
         ธาตุประกอบเหล่านี้ มีบาง ธาตุที่กล้วยไม้ ต้องการมากเหมือนกัน เช่น แคลเซียม เป็นธาตุที่ช่วยให้รากแข็งแรง แมกนีเซียม เป็นธาตุที่ช่วยคุมการเจริญของต้นให้ เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญในการสร้างคลอโรฟิล ที่ทำให้ต้นไม้มีสีเขียว สำรับ อ๊อกซิเจน และไฮโดรเจน กล้วยไม้ได้อย่างพอเพียงอยู่แล้วจากน้ำและอากาศ การให้ปุ๋ย
    ปุ๋ยโดยส่วนใหญ่ มี ๓ประเภท
    - ปุ๋ยเกร็ด ละลายน้ำ เป็นเกร็ดผงคล้ายน้ำตาลทรายใช้ช้อนตวงตามอัตราส่วน แล้วนำไปผสมน้ำ เพื่อทำละลายให้ ธาตุอาหารละลายออกมาให้พืชสามารถนำไปใช้ได้โดยง่าย วิธ๊ใช้ส่วนใหญ่จะมีอัตราการใช้อยู่ข้างกล่อง หรือขวดที่ บรรจุ แต่บางครั้งสำรับกล้วยไม้ อาจใช้ปุ๋ย เจือจางกว่าที่ระบุข้างภาชนะบรรจุ ได้ ๑ ส่วน โดยรดอาทิตย์ละครั้งสลับ กับการใช้สารกำจัดโรคแมลง เหตุที่ไม่ควรใช้ปุ๋ยเข้มข้นเกินไปสำรับกล้วยไม้ คือเมื่อปุ๋ย แห้งตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก หรือภาชนะ อาจทำให้เกิดการตกค้างของคราบเกลือ หรือสารที่ เป็นอันตรายกับรากกล้วยไม้หากสารเคมีเหล่านั้น สะสมเป็นเวลานาน

    - ปุ๋ยเม็ด ละลายช้า ส่วนมาก เม็ดสีเหลืองๆ สะดวกใช้ง่าย เพียงแค่โรยที่โคนต้นกล้วยไม้ จำนวนไม่มากเกินไป (๕-๖ เม็ด หรือ เพียงหยิบมือเดียว) เม็ดปุ๋ย เมื่อสัมผัสความชื้นหลังจาก เรารดน้ำ แล้ว ก็จะปลดปปล่อยะษตุอาหาร ออก มา ช้า ๆเป็นเวลานาน โดยปรกติเมื่อโรยปุ๋ยเม็ด ๑ครั้ง จะอยู่ได้ ๒-๓ เดือนจน ปุ๋ยเม้ดหมดสภาพคือ เวลาบีบดู จะ กรอบ เหลือแต่เปลือก เพระเนื้อปุ๋ยในเม็ดหมดแล้ว แต่ทางที่ดี ควรใช้เสริมกับปุ๋ยเกร็ด ฉีดพ่น ควบคู่กันไปด้วย จะได้ ผลดียิ่งขึ้น

    - ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่การนำ ธาตุอาหารต่างๆมาละลายน้ำเป็นสารละลายเข้มข้น เมื่อเวลาจะใช้ ก็ตวงด้วยภาชนะให้ได้ ปริมาตร ตามที่กำหนด แล้ว นำมาเทละลายผสมกับน้ำ อีกทีก๋อนนำไปฉีดพ่นกล้วยไม้ เช่น ปู๋ยน้ำเข้มข้น ๑ ลิตร ต่อ น้ำ ๒oo ลิตรเป็นต้น ปุ๋ยน้ำเป็นปุ๋ยที่กล้วยไม้สามารถนำไปใช้ได้หมดและไม่มีสารตกค้างในเครื่องปลูก

    ***น้ำที่ใช้ผสมปุ๋ยก็สามารถใช้น้ำประปา น้ำฝน หรือน้ำปรกติที่เราใช้รดกล้วยไม้อยู่แล้วทุกวัน นำมาใช้ได้แต่ควร ระวังน้ำประปาบาดาล น้ำจากแหล่งที่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือ น้ำจากแหล่งใต้ดิน บางแหล่งที่มีหินปูน หรือ สนิมเหล็ก ปนอยู่ เพราะอาจมีค่าความป็นกรดด่างที่ไม่เหมาะสม หรือมีตะกอนแร่ธาตุ ละลายอยู่ เมื่อผสมปุ๋ยแล้ว อาจทำให้ตกตะกอน หรือเกิดสารประกอบ ที่เป็นอันตรายกับกล้วยไม้

    ข้อสังเกตุ เล็กๆ น้อยๆ
          ปุ๋ยที่ดีเมื่อผสมน้ำ แล้วควรจะละลาย หมด ไม่มีตะกอน ตกค้าง หากเป็นปุ๋ยปลอมจะละลายไม่หมดและมีตะกอน ปุ๋ยที่เก่าจนหมดสภาพไม่สามารถใช้งานได้แล้วนั้น จากเกร็ด จะละลายเละกลายเป็นน้ำแทน
           เมือผสมปุ๋ยในน้ำขณะกวนๆ อยู่ อาจสังเกตุว่าน้ำปุ๋ยนั้นจะเย็นมากและข้างๆ มีหยดน้ำเกาะ อยู่ อาจเป็นเพราะ ปุ๋ยเหล่านั้น มีส่วนผสมของ ยูเรียเป็นส่วนประกอบเป็นตัวหลักของธาตุไนโตรเจน
    **มีบางชนิด อาจใช้แอมโมเนียไนเตรต เป็นตัวหลักแทนยูเรียซึ่งมีผู้รู้บอกว่าใช้ดีกว่าปุ๋ยที่มียูเรียเป็นตัวผสม เพราะ จะไม่ทำให้ใบอ่อนขยายตัวเร็วเกินไป หากใบอ่อนขยายตัวเร็วไปนั้น จะทำให้ปลายยอดใบอ่อนแอ และเน่า ง่าย ส่วนยี้ห้ออะไรนั้น ต้องไปสอบถามทางร้าน ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเองแล้วกันครับ






    คุณสามารถดาวน์โหลดเว็บเบราว์เซอร์ด้านล่างนี้เพื่อการแสดงผลที่ดีของเว็บ orchidtropical.com

    safari safari safari safari

    ออคิดทรอปิคอล เรา ดูแล กล้วยไม้ ด้วยใจ ทุกๆเช้ามืดเราจะรดน้ำ กล้วยไม้ ของเราด้วยน้ำที่สะอาดผ่านการกลั่นกรองเก็บไว้ในถัง เดินรดเองตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้แน่ใจว่า กล้วยไม้ ทุกต้นจะได้รับน้ำอย่างเต็มอิ่ม และทุกๆหนึ่งวันของสัปดาห์ตอนเช้ามืด เราจะปรุงอาหารสูตรพิเศษและฉีดพ่นให้กับ กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีสุขภาพที่ดีและเบ่งบานได้อย่างสวยงามสมคำล่ำลือ ราชินีแห่งมวลไม้ดอก และทุกๆวันเราจะเดินชมสวนของตัวเองเพื่อหยิบ หนอน แมลงตัวร้ายออกจาก กล้วยไม้ ของเราเพื่อให้เค้าได้มีใบที่สวยงาม ณ .เว็บไซค์ กล้วยไม้ แห่งนี้ เรายินดีให้คำปรึกษาและแบ่งปัญประสบการณ์เรื่องราว กล้วยไม้ ให้กับผู้ที่หลงไหล กล้วยไม้ เช่นเดียวกับเราและคอยให้กำลังใจให้กับผู้เริ่มปลูก กล้วยไม้ ใหม่ และนอกเหนือจากร้านค้า กล้วยไม้ ออนไลน์แล้ว เรายังมีบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ หลากหลาย บรรยายด้วยเนื้อหาสนุกสนานไม่วิชาการร้อยเรียงเรื่องราว กล้วยไม้ โดยทีมงานของเรา อีกทั้งห้องภาพ กล้วยไม้ ที่ตระเตรียมไว้เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเห็นภาพดอกของ กล้วยไม้ นานาพันธุ์ที่รวบรวมคัดสรรค์ผลงานมาเป็นพิเศษ ออร์คิดทรอปิคอล เรา กันเองครับ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่อง กล้วยไม้ แล้วละก็ มาลองเดินไปพร้อม ๆ กับเราสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า กล้วยไม้ มีอะไรแปลกใหม่ให้ค้นพบอีกมากมาย จนคุณอาจคิดไม่ถึงก็เป็นได้ Orchidtropical กล้วยไม้ เมืองร้อน เว็บ กล้วยไม้ไทย เพื่อคนรัก กล้วยไม้ โดยเฉพาะ
    ©2010 Orchidtropical.com all right reserved.

    Link exchange :

  • Thaiphoto
  • |
  • พืชผัก
  • |
  • กล้วยไม้ไทย
  • |
  • TJorchid
  • |
  • ข่าว IT
  • |
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า
  • |